จาก http://webboard.mthai.com/upload_images/138107.jpg  
จาก http://webboard.mthai.com/upload_images/138107_2285585.jpgจาก http://webboard.mthai.com/upload_images/138107_2285567.jpg
 
 
 

การศึกษาดาราศาสตร์ยุคปัจจุบัน

 

จาก http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/2/scientist/scientist6/astronomer.htm

เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ( ค.ศ. 1656 -1742) ผู้ศึกษาดาวหางแฮลลี่ย์และพิสูจน์ว่าดาวหางคือสมาชิกหนึ่งในระบบสุริยะ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และมีพฤติกรรมเป็นไปตามกฏของแรงโน้มถ่วง เช่นเดียวกับ ดาวเคราะห์ทั้งหลาย และได้เสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับดาวหางดวงหนึ่งที่มาให้โลกเห็นทุก ๆ ประมาณ 75 ปี

จาก http://web1.dara.ac.th/daraspace/Data/Data_Darasart/SolarSystem/comet/comet.htm

ดาวหางแฮลลีย์ (Halley) ดาวหางซึ่ง เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ค้นพบ

  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ( ค.ศ.1879 - 1955) ผู้ปฏิวัติความคิดเดิมและนำวิทยาศาสตร ์เข้าสู่ยุคอะตอม โดยเสนอว่า แสงเดินทางเป็นเส้นโค้งในอวกาศ และเชื่อว่าทุกสิ่งในเอกภพมีการเคลื่อนที่ ไม่มีสิ่งใดอยู่นิ่งโดยสัมบูรณ์ การเคลื่อนที่ และเวลา จึงเป็นสิ่งสัมพันธ์ที่ยังคงความลึกลับอยู่จนบัดนี้ ผู้คิดค้นสูตรแห่งจักรวาล หรือ E = mc2 เมื่อเนื้อสาร m กลายเป็นพลังงาน E และ c คืออัตราเร็วของแสงส่วางในอวกาศ ที่มีค่าคงที่ทุกหนแห่งในเอกภพ

จาก http://scienzapertutti.lnf.infn.it/Quark/03/Ottobre/quark/img/slide0011_image015.png

สมการที่โด่งดังที่สุดของ  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (E=mc2)

เอ็ดวิน ฮับเบิ้ล (ค.ศ.1889 - 1953) ผู้บุกเบิกการศึกษาเรื่อง กาแล็กซีและเสนอทฤษฎีว่าด้วยเอกภพขยายตัว จากการสังเกตการแล็กซีทั้งหลายกำลังเคลื่อนที่หนีห่างจากกันและกัน

จาก http://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/big-bang/index/indexpic14.htm

เเผนที่เเสดงตำเเหน่งที่หลงเหลือจากการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) โดยเเสดงให้เห็นคลื่นความร้อน กำลังเคลื่อนที่ห่างออกไป ซึ่งเป็นการยืนยันทฤษฎีว่าด้วยเอกภพขยายตัว

จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E:Stephen_Hawking_050506.jpg

สตีเฟน ฮอร์กิน (ค.ศ.1942 - ปัจจุบัน) นักวิทยาศาสตร์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้นำทฤษฎีพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนมาอธิบายความเป็นไปในจักรวาล เช่น นำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับหลักกลศาสตร์ควอนตัม ของไอน์สไตน์ อธิบายถึงจุดเริ่มต้นของการระเบิดใหญ่ (Big Bang) และวาระสุดท้ายของหลุมดำ (Black Hole)

จาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000023760

ภาพจำลองหลุมดำ (Black Hole)

 

 

 

 

รูปภาพประจำสัปดาห์

จาก http://www.darasart.com/space_image/blackeye.html

ภาพล่าสุดที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เผยให้เห็นกาแลคซีใกล้เคียงที่สว่างแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุที่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น กาแลคซีดังกล่าวมีชื่อว่า M64 หรือ NGC 4826


จาก http://www.darasart.com/space_image/antennae_hst.html

ภาพใหม่จากกล้องเพื่อการสำรวจชั้นสูง(ACS) ของฮับเบิลแสดงกาแลคซีหนวดแมลง(Antennae galaxies) เมื่อทั้งสองกาแลคซีปะทะกัน มีดาวฤกษ์หลายพันล้านดวงบังเกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มและกระจุก กลุ่มหรือกระจุกที่สว่างที่สุดและอัดตัวกันแน่นที่สุดจะเรียกว่าซุปเปอร์กระจุกดาวsuper star cluster